CULTURE,PHILOSOPHY & RELIGIONS
The ways of thinking, The ways of live and The ways of mankind
วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553
อะไรบ้างที่ทำให้ในหลวงทรงพระสำราญ
ยิ่งช่วงเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ทรงครองราชย์ เรายิ่งไม่เคยคิดเลยว่าพระองค์ทรงโทมนัสอย่างไรบ้าง ดูสารคดีเรื่องนี้แล้วรู้สึกตัวเองเห็นแก่ตัว ลองคิดว่าถ้าตัวเองอยู่ในสภาะอารมณ์ ความรู้สึดเช่นนั้นบ้าง เราจะอดทน มุ่งมั่นทำงานได้อย่างพระองค์หรือ
ดูแล้วลองตั้งความคิดใหม่ว่า ทำอย่างไรที่จะทำให้พระองค์ท่านที่เราเคารพเทิดทูน ไม่ต้องทรงโทมนัสอีก
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
แผนที่วัฒนธรรม
คอลัมน์ สยามประเทศไทยโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553
มอญ : ไร้แผ่นดินแต่ไม่สิ้นวัฒนธรรม
เฝ้าร่ำไห้อาลัยแผ่นดินแม่
เป็นผู้แพ้จำต้องจากพลัดพรากหาย
รอนแรมป่าฝ่าเขาแทบวางวาย
กว่าสบายใต้พระบรมโพธิสมภาร
ทูนเทิดไว้เหนือเกล้าเท่าชีวิต
ดั่งอาทิตย์ส่องหนพ้นสงสาร
จนเลยวารทุกข์ล่วงปวงรามัญ
แม้อาสัญขอบูชามหากษัตริย์ไทย
มอญคิด ไทเขียน
น้ำเสียงเรียบๆ แต่จริงจังเป็นสิ่งที่คณะเราได้ยินโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน ทำให้เกิดคำถามต่อไปว่า เพราะอะไร?
“คนมอญไม่มีแผ่นดิน ไม่มีกษัตริย์ ถูกข่มเหงในดินแดนของตัวเองมานาน เห็นพระองค์ทรงห่วงใยและช่วยเหลือประชาชนโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ทำให้เกิดความรักและศรัทธาอย่างยิ่ง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าทุกบ้านมีรูปของพระองค์แขวนไว้รองลงมาจากพระพุทธรูป”
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีชี้ให้เห็นว่า นับเนื่องแต่อดีตกาล ดินแดนสุวรรณภูมิได้มีกลุ่มชนหลากหลายกลุ่มอาศัยอยู่มานานนับพันปี ชนชาติมอญเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า เป็นผู้สร้างสรรค์รากฐานทางวัฒนธรรมที่สำคัญและถ่ายทอดสืบมาจนถึงปัจจุบัน นักวิชาการสันนิษฐานว่า ชนชาติมอญซึ่งเป็นพวกมองโกลอยด์ อพยพลงมายังดินแดนที่เป็นประเทศพม่า ในขณะที่ชนเผ่ากัปปะลีซึ่งเป็นพวกนิกริโต และเป็นกลุ่มชนแรกเริ่มที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มากว่า 4 พันปี ก็เคลื่อนย้ายไปอาศัยอยู่ตามเกาะภีลู หรือ บะลูและเกาะกัปปลี โดยกลุ่มชนมอญโบราณได้ตั้งหลักแหล่งในรูปแบบของสังคมกสิกรรรม และเรียกแผ่นดินแรกของมอญนี้ว่า รามัญเทสะ
จากความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทวาราวดีกับชนชาติมอญ จะเห็นได้ว่า มอญ คือกลุ่มคนที่มีรกรากอยู่ในอาณาบริเวณนี้ โดยที่อาณาจักรในสมัยก่อนยังไม่มีการใช้เส้นแบ่งเขตดินแดนที่ชัดเจนเช่นในปัจจุบัน กลุ่มชนเคลื่อนย้ายไปตามศูนย์กลางความเจริญ ความรู้สึกของการเป็นพวกพ้องเดียวกัน มีการแลกเปลี่ยนผสมกลมกลืนในวิถีชีวิต ความคิด วัฒนธรรม ประเพณี จนทำให้เป็นการลำบากที่จะแยกว่าวัฒนธรรมใดเป็นของกลุ่มชนใดมาตั้งแต่แรกเริ่มอย่างแท้จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนมอญก็คือ ภาษา ซึ่งอาจดูคล้ายคลึงกับภาษาพม่า และภาษาธรรมของล้านนา ซึ่งตัวอักษรมอญมีพัฒนาการจากประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยคลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะมาเป็นตัวอักษรสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า อักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลง และกลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะกลม เกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลานตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21
สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อีกประการหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเป็นคนมอญ คือ การแต่งกาย ซึ่งก็มีพัฒนาการผสมผสานกับการแต่งกายของคนไทยตามยุคตามสมัย หากจะเห็นได้ชัดเจนในงานประเพณี หรืองานบุญ โดยที่ชายชาวมอญจะสวม เกลิด หรือ ผ้านุ่ง ส่วนผ้าผืนยาวที่นุ่งเวลาออกงานสำคัญ เรียกว่า เกลิดฮะเหลิ่น แปลว่า ผ้านุ่งยาว (ลอยชาย) สวมเสื้อคอกลมผ่าอกตลอด แขนกระบอก มีกระดุมผ้า หรือเชือกผูกเข้ากัน สมัยก่อนนิยมโพกศีรษะ ต่อมาตัดสั้นแบบสมัยนิยม สำหรับการแต่งกายของหญิงมอญนั้นจะสวม หนิ่น ซึ่งคล้ายผ้านุ่งของผู้ชาย แต่ลายจะละเอียด และสวยงามกว่า รวมถึงมีวิธีการนุ่งที่ต่างกัน สวมเสื้อตัวในคอกลมแขนกุด สีสันสดใสตัวสั้นแค่เอว เล็กพอดีตัว สวมทับด้วยเสื้อแขนยาวทรงกระบอก เป็นผ้าลูกไม้เนื้อบาง สีอ่อน มองเห็นเสื้อตัวใน ถ้ายังสาวอยู่แขนเสื้อจะยาวถึงข้อมือ หากมีครอบครัวแล้ว จะเป็นแขนสามส่วน หญิงมอญนิยมเกล้าผมมวย ค่อนต่ำลงมาทางด้านหลัง โดยมีเครื่องประดับ ๒ ชิ้น บังคับไม่ให้ผมมวยหลุด คือ โลหะรูปตัว U คว่ำแคบๆ และโลหะรูปปีกกาตามแนวนอน ภาษามอญเรียกว่า อะน่ดโซ่ก และ ฮะเหลี่ยงโซ่ก จากนั้นประดับด้วย “แหมะเกวี่ยปาวซ่ก“ รอบมวยผม สิ่งสำคัญของคนมอญเมื่อไปวัด คือผ้าสไบ เรียกว่า หยาดโด๊ด ใช้ได้ทั้งชายหญิง แต่โดยมากชายสูงอายุมักใช้ผ้าขาวม้า โดยพาดจากไหล่ซ้ายไปด้านหลัง อ้อมใต้รักแร้ขวา แล้วขึ้นไปทับบนไหล่ซ้าย แต่หากไปงานรื่นเริง เที่ยวเล่น ก็ใช้คล้องคอแทนหรือพาดลงมาตรงๆ บนไหล่ซ้าย หากแต่ในปัจจุบัน อาจเห็นผู้ชายสวมเสื้อขาว โสร่งพื้นแดงลายตาราง ส่วนผู้หญิง สวมเสื้อขาวหรือชมพูอ่อน ผ้าถุงพื้นแดงเชิงลายดอกพิกุล เพื่อแสดงเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มของตนทุกครั้งที่มีโอกาส โดยเฉพาะในงานสำคัญอย่างวันชาติมอญ เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างทางเชื้อชาติระหว่างมอญกับพม่า เพราะคนทั่วไปมักแยกไม่ออกว่าพม่ากับมอญต่างกันอย่างไร
การที่มอญต้องการแสดงความแตกต่างจากพม่านั้น มีสาเหตุมาจากประวัติศาสตร์ของชนชาติมอญที่มีลักษณะเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพม่า ชนชาติมอญเป็นผู้รักความสงบ ยึดมั่นในหลักคำสอนของพุทธศาสนา ในขณะที่พม่าต้องการยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิโดยการใช้กำลังผนวกมอญเป็นส่วนหนึ่งแล้วพยายามกำจัดอาณาจักรอยุธยา เมื่อมอญตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าแล้วก็ได้รับความลำบาก ถูกกดขี่ข่มเหง เกณฑ์แรงงานไปใช้ในการก่อสร้าง ทำการเกษตรรวบรวมเสบียงอาหารให้กองทัพพม่าก่อนการยกทัพเข้าทำสงคราม ชาวมอญจึงเริ่มอพยพเข้าสู่อาณาเขตของไทย เนื่องจากพื้นที่ของมอญและไทยต่อเนื่องกัน สภาพภูมิอากาศคล้ายกัน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาหารการกิน วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีก็เหมือนกัน ที่สำคัญคือ นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกัน จึงสามารถปรับตัวได้ง่าย ประกอบกับไทยมีความรู้สึกเป็นมิตร ไม่มีนโยบายกีดกันชาวมอญ
จากการที่ชาวมอญได้เข้ามาอยู่ร่วมกับคนไทยและสังคมไทยเป็นเวลานาน คนไทยและสังคมไทยได้รับการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาวมอญ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ทั้งด้านอาหารการกิน เช่น กะละแม ขนมจีน ข้าวทิพย์ ข้าวแช่ ด้านการละเล่น ดนตรี นาฏศิลป์ เช่น ปี่พาทย์มอญ ฆ้องมอญ มอญรำ มอญซ่อนผ้า ทะแยมอญ ด้านศาสนา ได้แก่ พุทธศาสนานิกายธรรมยุติ หรือรามัญนิกาย เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มชนทั้งสองนับแต่อดีตมา
ปัจจุบัน มีชาวมอญได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในหลายรูปแบบทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ตามกระแสโลกาภิวัตน์ คือ การที่มอญซึ่งเป็นเพียงเขตปกครองเขตหนึ่งของพม่า ชาวมอญจึงไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมอญ แต่ถูกเรียกขานว่าเป็นพม่า และเมื่อเข้ามาสู่ประเทศไทยก็จะถูกมองว่าเป็นชาวพม่า ทังนี้เป็นเพราะชาวมอญและชาวพม่ามีความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ ด้าน ประกอบกับการที่ชาวมอญต้องปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่ตนอาศัยอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีบางอย่างจึงพลอยกร่อนไปด้วย วัฒนธรรมมอญบางส่วนถูกดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างรายได้ เช่น เครื่องปั้นดินเผาที่เกาะเกร็ด และบ้านมอญ นครสวรรค์ แม้บางคนอาจจะมองว่าไม่ใช่วัฒนธรรมเดิมของมอญ โดยเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากร กระบวนการผลิตแบบเดิมก็คือ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาสามโคก แต่ก็เป็นการปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ซึ่งก็เป็นการสร้างกระแสให้คนทั่วไปรู้จักวัฒนธรรมมอญ นอกจากจะรู้จักเพียงการเล่นสะบ้า หรือมอญซ่อนผ้า
วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553
พรปีใหม่
ขออัญเชิญพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๓ มาเป็นสิริมงคลสำหรับผู้มีสำนึกรักแผ่นดินทุกท่าน
วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
จิต มาร กิเลส
ความชั่วมี ความดีมี จิตมีสิทธิ์ที่จะเลือก
ในโลกสมมุตินี้ กลับเห็นผู้ฉกฉวย หลอกคนอื่นได้ เป็นคนฉลาด โลกก็เป็นอย่างนี้
แต่ในทางธรรมะ ถ้าไปทำให้คนอื่นทุกข์เดือดร้อน กรรมนั้นก็จะตามสนอง ให้ต้องถูกหลอก โดนต้มตุ๋น ต้องเสียใจ คับอก คับใจ เกิดชาติใดก็จะเป็นอย่างนั้น
พระพุทธองค์ทรงสอนให้คนฉลาด มีปัญญา ไม่สอนให้โง่เขลาเบาปัญญา
“ทูรังคะมัง เอกะจะรัง คูหาสะยัง…ฯลฯ”
ใครสำรวมจิตใจตนให้ดีก็จะพ้นจากบ่วงแห่งมาร
สิ่งที่ยิ่งทำให้โลภ โกรธ หลง ก็คือ “มาร”
เมื่อพิจารณารู้แล้วต้องไม่หลงใหลไปตามมายาของกิเลสนั้น
เมื่อมีอะไรมากระทบก็อย่าวู่วาม ให้มีสติสัมปชัญญะสกัดกั้นจิตใจไว้
มีอะไรมากระทบใจ ก็ “อดทน” ก่อน ถ้าไม่อดทนก็จะมีเรื่อง
อย่างมีคดีกัน ฟ้องกัน เสียเงิน เสียเวลา ไปศาลทีไรก็เสียเงินทุกที ไม่ฉลาด
ถ้าฉลาดโจทก์กับจำเลยควรมาพูดคุยกัน
ตกลงกัน สมยอมกัน ยอมสละกันบ้าง
การว่าความในโรงศาลไม่ใช่ของดี ทำให้เสียเงินทอง เสียเกียรติยศชื่อเสียง
พระพุทธองค์จึงสั่งสอนให้สำรวมจิต ซึ่งจะทำให้มาร
คือ ความชั่วทั้งหลายมาหลอกลวงยั่วยวนไม่สำเร็จ
เพราะว่าจิตรู้เท่าทัน เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เกิดปัญญา
ดังนั้น อย่าปล่อยให้จิตไหลไปตามกระแสโลก จะยืน เดิน นั่ง นอน
ก็ใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาก่อน จะทำ จะพูด จะคิด ก็สำรวมจิต
รักษาจิตให้ดี มารหรือความชั่ว ก็มาลบล้างหรือทำให้จิตใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่ได้
ขอให้เข้าใจว่า ความชั่วทั้งหลาย (โลภ โกรธ หลง) คือตัวมาร
ใครล่วงความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เข้าใจผิด เดินทางผิด เห็นผิดเป็นชอบไป
การขอหวย รวยเบอร์ บนบาน ไม่ได้อะไร นี่เรียกว่า ความหลง
ดังนั้น สำรวมตัวเองให้ดี ไม่ปล่อยให้ความชั่วจูงจิตใจไป
เท่านี้ก็มีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว
ก่อนนอนควรสวดมนต์ไหว้พระ ฝึกฝนตน อย่าแค่กราบ ๓ ที แล้วนอนเลย
เพราะพวกเรากำลังฝึกตนอยู่ พระพุทธองค์ทรงวางระเบียบไว้อย่างไร
ก็ให้ฝึกตนอย่างนั้น ทำบุญทำทาน ขยันทำงานขยันทำบุญ ควบคุมใจให้อยู่ในความดี
อย่าให้โลภ โกรธ หลง มาครอบงำใจให้ไปทำไม่ดีกับคนอื่น
อันจะเป็นบาปเป็นเวรต่อไป ทำความดีให้เกิดในใจตน ด้วยการพยุงจิตให้แน่วแน่
จิตมีปกติเที่ยวไปไกล แต่ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายเป็นที่อาศัย
ผู้ใดสำรวมจิตใจให้ดี ก็จะพ้นจากบ่วงแห่งมาร คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นเอง
วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
What Everyone Ought to Know About The Structure of the Universe
Since man started to reflect, I imagine him first developing tools used to survive the grim surroundings, then securing shelter, clothing and food. After those primal tasks, after finding security within a cave or by an open fire in the wilderness, he must have looked up at the sky at night and wondered about the moon and the stars. Since knowing what planets and suns are wasn’t accessible information at that time, theories were created about what they were. Were the stars the eyes of the gods? Were they perhaps little nails that held up the roof of the sky? They must have wondered. With theorizing about what they wondered, they perhaps discovered a little about the Universe, but a greater truth about themselves.
I still wonder. Knowing what I know today, I believe I’m just as far away from knowing what the universe truly is. There are two popular theories in the modern world that seem to predetermine what kind of person we are. There is one that believes the world was created by a divine being, God. Some of those believe however differently about how God created the world. Some think it happened six thousand years ago and consider all scientific believes to the contrary to be hashwash, but others believe that God was the mind or structure behind the world that actually developed.
There are others who believe there is no God who created the Universe. That we are alone. Laws of nature took the greatest part in this development. Accidents and coincidences happen without being preordained. Everything becomes from matter and becomes what it becomes due to its environment.
Does there have to be a mind that creates everything that happens to be beautiful in this world?
I don’t think so.
Could we interpret the world as something beautiful that must have been created by a greater power?
Yes.
Do humans have the tendency to personify everything in order to grasp a deeper understanding of themselves and the universe?
Definitely.
All the myths that have been created in order to explain what used to be unexplainable suggests that we need to grasp on a familiar level the reasons for every single force of nature. Every single accident needs to be explained as something with a cause. Not everyone is satisfied with natural causes. There must be something divine about things we can’t grasp.
Today, the Big Bang theory seems to be what the majority who sustains from mythology holds to be true regarding the creation of the Universe. However, the Big Bang theory is in my opinion just another myth, it’s just more believable to the modern mind since it hasn’t been personalized. It may well be that the Universe is expanding from a central point, but it could also be that this central point isn’t the point of creation. What if we are just participating in an instant of the universe’s heartbeat?
From these reflections we may draw a little conclusion.
What everyone ought to know about the structure of the universe is that it’s based on our own believes. Facts and knowledge about the universe are secondary to the interpretation of each person towards what the universe actually is. Belief systems are created in order to make sense of the universe. Belief systems are simpler to understand than pure knowledge. Knowledge is hard to come by, it requires deep thought and a will to wonder and reflect. Nobody can do it for you. Believes may be manufactured, produced for the masses. Knowledge is an individual discovery.
This may sound arrogant to those who believe and don’t have time to wonder.
แวะเวียนไปพบบทความท่น่าสนใจ เลยนำมาฝากไว้ให้อ่านเล่น ๆ กัน ก็เป็นความคิดที่น่าสนใจที่บางครั้งเราก็คิดกันเล่น ๆ แต่ไม่เคยหาคำตอบจริง ๆ