วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

จิต มาร กิเลส

เวลายังคงทำหน้าที่อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เดินต่อไปโดยไม่หยุดพัก


ชีวิตคนก็ยังต้องดำเนินไป ไม่อาจย้อนกลับ


เพียงแต่... เวลาที่ผ่านมา เราได้ย้อนกลับไปคิดถึงความเป็นไปในชีวิตมากน้อยเพียงใด


เตรียมตัวเตรียมใจพบกับสิ่งใหม่ที่รออยู่แค่ไหน




เตรียมรับปีใหม่ ตั้งต้นความคิดและชีวิตใหม่ด้วยข้อคิดดีๆ จากธรรมะใกล้ตัว http://www.dlitemag.com/



จิต มาร กิเลส


หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ


จิตไปเร็วมาก เจ้าของตามไม่ทันไปทุกขณะ

ดังนั้น คนเลยทำชั่ว ปล่อยให้กิเลสพาไป ไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดจาหยาบคาย ส่อเสียดให้คนอื่นเดือดร้อน ดื่มสุรา

ความชั่วมี ความดีมี จิตมีสิทธิ์ที่จะเลือก

ถ้าจิตฉลาด ก็เลือกเอาบุญกุศล ถ้าไม่ฉลาด ก็เลือกเอาเรื่องชั่ว

พอใจทำชั่ว จิตไม่ฉลาด ไม่สามารถสร้างหรือหาข้าวของของตัวเอง ก็ไปฉกฉวยเมื่อเห็นของของผู้อื่น
ในโลกสมมุตินี้ กลับเห็นผู้ฉกฉวย หลอกคนอื่นได้ เป็นคนฉลาด โลกก็เป็นอย่างนี้

แต่ในทางธรรมะ ถ้าไปทำให้คนอื่นทุกข์เดือดร้อน กรรมนั้นก็จะตามสนอง ให้ต้องถูกหลอก โดนต้มตุ๋น ต้องเสียใจ คับอก คับใจ เกิดชาติใดก็จะเป็นอย่างนั้น

พระพุทธองค์ทรงสอนให้คนฉลาด มีปัญญา ไม่สอนให้โง่เขลาเบาปัญญา

คำสอนล้วนแต่ทำให้เกิดปัญญา แนะนำให้คนฝึกตน อย่าปล่อยตนให้ไหลไปตามอำนาจของกิเลส

“ทูรังคะมัง เอกะจะรัง คูหาสะยัง…ฯลฯ”

ปกติของจิตนั้น เที่ยวไปไกล มีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อาศัย
ใครสำรวมจิตใจตนให้ดีก็จะพ้นจากบ่วงแห่งมาร

สิ่งที่ยิ่งทำให้โลภ โกรธ หลง ก็คือ “มาร”
เมื่อพิจารณารู้แล้วต้องไม่หลงใหลไปตามมายาของกิเลสนั้น
เมื่อมีอะไรมากระทบก็อย่าวู่วาม ให้มีสติสัมปชัญญะสกัดกั้นจิตใจไว้

มีอะไรมากระทบใจ ก็ “อดทน” ก่อน ถ้าไม่อดทนก็จะมีเรื่อง
อย่างมีคดีกัน ฟ้องกัน เสียเงิน เสียเวลา ไปศาลทีไรก็เสียเงินทุกที ไม่ฉลาด
ถ้าฉลาดโจทก์กับจำเลยควรมาพูดคุยกัน
ตกลงกัน สมยอมกัน ยอมสละกันบ้าง
การว่าความในโรงศาลไม่ใช่ของดี ทำให้เสียเงินทอง เสียเกียรติยศชื่อเสียง

พระพุทธองค์จึงสั่งสอนให้สำรวมจิต ซึ่งจะทำให้มาร
คือ ความชั่วทั้งหลายมาหลอกลวงยั่วยวนไม่สำเร็จ
เพราะว่าจิตรู้เท่าทัน เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เกิดปัญญา

ดังนั้น อย่าปล่อยให้จิตไหลไปตามกระแสโลก จะยืน เดิน นั่ง นอน
ก็ใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาก่อน จะทำ จะพูด จะคิด ก็สำรวมจิต
รักษาจิตให้ดี มารหรือความชั่ว ก็มาลบล้างหรือทำให้จิตใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่ได้

ขอให้เข้าใจว่า ความชั่วทั้งหลาย (โลภ โกรธ หลง) คือตัวมาร
ใครล่วงความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เข้าใจผิด เดินทางผิด เห็นผิดเป็นชอบไป
การขอหวย รวยเบอร์ บนบาน ไม่ได้อะไร นี่เรียกว่า ความหลง

ดังนั้น สำรวมตัวเองให้ดี ไม่ปล่อยให้ความชั่วจูงจิตใจไป
เท่านี้ก็มีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว

ก่อนนอนควรสวดมนต์ไหว้พระ ฝึกฝนตน อย่าแค่กราบ ๓ ที แล้วนอนเลย
เพราะพวกเรากำลังฝึกตนอยู่ พระพุทธองค์ทรงวางระเบียบไว้อย่างไร
ก็ให้ฝึกตนอย่างนั้น ทำบุญทำทาน ขยันทำงานขยันทำบุญ ควบคุมใจให้อยู่ในความดี
อย่าให้โลภ โกรธ หลง มาครอบงำใจให้ไปทำไม่ดีกับคนอื่น
อันจะเป็นบาปเป็นเวรต่อไป ทำความดีให้เกิดในใจตน ด้วยการพยุงจิตให้แน่วแน่

จิตมีปกติเที่ยวไปไกล แต่ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายเป็นที่อาศัย
ผู้ใดสำรวมจิตใจให้ดี ก็จะพ้นจากบ่วงแห่งมาร คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นเอง


วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

What Everyone Ought to Know About The Structure of the Universe

What Everyone Ought to Know About The Structure of the Universe



Since man started to reflect, I imagine him first developing tools used to survive the grim surroundings, then securing shelter, clothing and food. After those primal tasks, after finding security within a cave or by an open fire in the wilderness, he must have looked up at the sky at night and wondered about the moon and the stars. Since knowing what planets and suns are wasn’t accessible information at that time, theories were created about what they were. Were the stars the eyes of the gods? Were they perhaps little nails that held up the roof of the sky? They must have wondered. With theorizing about what they wondered, they perhaps discovered a little about the Universe, but a greater truth about themselves.

I still wonder. Knowing what I know today, I believe I’m just as far away from knowing what the universe truly is. There are two popular theories in the modern world that seem to predetermine what kind of person we are. There is one that believes the world was created by a divine being, God. Some of those believe however differently about how God created the world. Some think it happened six thousand years ago and consider all scientific believes to the contrary to be hashwash, but others believe that God was the mind or structure behind the world that actually developed.



There are others who believe there is no God who created the Universe. That we are alone. Laws of nature took the greatest part in this development. Accidents and coincidences happen without being preordained. Everything becomes from matter and becomes what it becomes due to its environment.

Does there have to be a mind that creates everything that happens to be beautiful in this world?

I don’t think so.

Could we interpret the world as something beautiful that must have been created by a greater power?

Yes.

Do humans have the tendency to personify everything in order to grasp a deeper understanding of themselves and the universe?

Definitely.

All the myths that have been created in order to explain what used to be unexplainable suggests that we need to grasp on a familiar level the reasons for every single force of nature. Every single accident needs to be explained as something with a cause. Not everyone is satisfied with natural causes. There must be something divine about things we can’t grasp.

Today, the Big Bang theory seems to be what the majority who sustains from mythology holds to be true regarding the creation of the Universe. However, the Big Bang theory is in my opinion just another myth, it’s just more believable to the modern mind since it hasn’t been personalized. It may well be that the Universe is expanding from a central point, but it could also be that this central point isn’t the point of creation. What if we are just participating in an instant of the universe’s heartbeat?



From these reflections we may draw a little conclusion.

What everyone ought to know about the structure of the universe is that it’s based on our own believes. Facts and knowledge about the universe are secondary to the interpretation of each person towards what the universe actually is. Belief systems are created in order to make sense of the universe. Belief systems are simpler to understand than pure knowledge. Knowledge is hard to come by, it requires deep thought and a will to wonder and reflect. Nobody can do it for you. Believes may be manufactured, produced for the masses. Knowledge is an individual discovery.

This may sound arrogant to those who believe and don’t have time to wonder.

แวะเวียนไปพบบทความท่น่าสนใจ เลยนำมาฝากไว้ให้อ่านเล่น ๆ กัน ก็เป็นความคิดที่น่าสนใจที่บางครั้งเราก็คิดกันเล่น ๆ แต่ไม่เคยหาคำตอบจริง ๆ

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ขุมทรัพย์แห่งบรรพชน

              ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นสิ่งแสดงความเจริญด้านภูมิปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นอกลักษณ์ของกลุ่มชน โดยถ่ายทอดจากบรรพชนสู่ชนรุ่นหลัง ผ่านทางขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อ การแสดง และการละเล่นพื้นบ้าน ฯลฯ


           สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอันเนื่องจากเป็นแหล่งรวมผู้คนจากทุกสารทิศนับแต่โบราณกาล การที่ชนกลุ่มต่าง ๆ สามารถอยู่ร่วมกันได้นั้นมีสาเหตุหลายประการ โดยสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ โลกทัศน์ที่มีต่อสรรพสิ่งรอบตัว ซึ่งเมื่อมองลึกลงไปในความเชื่อของกลุ่มชนต่าง ๆ จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันในการให้ความเคารพต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

               แต่จากการครอบงำของระบบทุนนิยมที่มีต่อความคิด การผลิต การบริโภค ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ลืมเลือนคำสอนของบรรพชน หันไปสนใจแต่ความเจริญทางเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ มุ่งแสวงหาเงินทองเป็นสำคัญ ศิลปะวัฒนธรรมถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความร่ำรวย โดยไม่แยแสสนใจข้าวของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างจริงจัง หลายคนได้ชื่อว่าเป็นผู้ดูแลวัฒนธรรมแต่กลับไม่เข้าใจวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้ ไม่เข้าใจรากฐานความคิดของวัฒนธรรมอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยืนยาว ทำให้วัฒนธรรมเป็นเพียงเครื่องมือให้คนเหล่านั้นก้าวหน้าในตำแหน่ง หน้าที่การงานเท่านั้นเอง ไม่มีคุณค่าต่อสังคมและชุมชนเลยสักนิด ทำให้เกิดความคิดว่าน่าเสียดายที่วัฒนธรรม ภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าแห่งกลุ่มชนอันยิ่งใหญ่ถูกทำลายด้วยมือของลูกหลานผู้โฉดเขลา

                ผมมีโอกาสได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานวัฒนธรรมอยู่ระยะหนึ่ง  เริ่มจากความรู้ที่มีอยู่เพียงน้อยนิดว่างานวัฒนธรรมคงเกี่ยวข้องกับการแสดง  การละเล่น  เช่นที่คนทั่วไปเข้าใจ  แต่เมื่อได้รับมอบหมายให้มีส่วนในการกำหนดนโยบายและแผนดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของหน่วยงาน  จึงต้องเร่งศึกษาเพิ่มเติมอย่างมากทำให้พบว่างานวัฒนธรรมมีขอบเขตที่กว้างมาก เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่านที่จะจัดการงานวัฒนธรรมใหครอบคลุมทั้งหมดด้วยคนเพียงคนเดียว  หรือหน่วยงานเดียว  ต้องมีการบูรณาการความรู้  ความสามารถ  ศักยภาพของคนในหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างมีเอกภาพ  แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะเป็นจริง  ยังคงเหมือนกับความฝันของเด็กขอทาน  เพราะอะไรหรือ?

                 ถ้าตอบในแนวของวัฒนธรรมเองจะพบคำตอบว่า  ด้วยลักษณะนิสัยบางอย่างของคนในบ้านนี้เมืองนี้บางคน  บางส่วน  ทำให้การบูรณาการดังกล่าวเป็นเพียงความคิดที่ยังห่างไกลความเป็นจริง    เพราะคนเรามักคิดว่าตัวเองเก่ง  ฉลาดกว่าคนอื่น หรือมักคิดว่าทำไปทำไม  เหนื่อยเปล่า ๆ มีบางคนถึงกับพูดว่าอย่าสร้างงานใหม่เลย  เขาทำมายังไงก็ทำไปอย่างนั้นแหละ  ทำใหม่ให้เหนื่อยทำไม  เงินก็ไม่ได้เพิ่ม  ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง  ฟังอย่างนี้แล้วอยากบอกด้วยความเคารพว่า  กรุณากลับไปอยู่บ้านให้สบายเถอะครับ  แต่ถ้าพูดด้วยภาษาบ้านผมจะบอกว่า  ไปตายซะ  หรือไม่ก็กลับไปซุกชายผ้าถุงซะ  ไม่ควรอยู่ต่อไปให้เป็นเสนียดกับหน่วยงาน  เป็นจัญไรต่อแผ่นดินอีกเลย

               ที่คิดอย่างนี้เพราะระลึกถีงวันเวลาแห่งการต่อสู้ดิ้นรนของบรรพชนที่ยอมเหนื่อยยากหักล้างถางพง บุกบั่นสร้างบ้านเมือง สร้างความเจริญ สั่งสมและถ่ายทอดวัฒนธรรมและอารยธรรมให้ลูกหลานมาโดยตลอด ท่านยอมแม้กระทั่งการหลั่งเลือดชโลมแผ่นดิน  เพื่อรักษาความเป็นชาติ  ความเป็นไทย ความเป็นสยาม  ความเป็นสุวรรณภูมิ ดังที่ปรากฏในประวัติศาสตร์แห่งชนชาติที่ทุกคนยอมรับอยู่ในใจดีอยู่แล้ว 

               ที่เขียนมานี้มิได้มีเจตนาลบหลู่ดูหมิ่นคนทำงานวัฒนธรรมนะครับ เพียงแต่อดไม่ได้ที่จะสะท้อนความคิด  ประสบการณ์ที่พบเจอมาซึ่งแม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของคนทำงานวัฒนธรรม แต่ก็เป็นส่วนที่ทำให้งานในภาพรวมไม่พัฒนาหรืออาจเป็นภาพลบเล็ก ๆ ที่ทำลายกำลังใจของคนทำงานอีกหลายคนที่ยังมีไฟ

                 ขอเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องผองเพื่อนผู้ทุ่มเทเสียสละในการทำงานวัฒนธรรมอย่างจริงจังและจริงใจ ทำต่อไปเถอะครับ อย่าท้อถอยในความดีที่ท่านทำอยู่ เพราะไม่เช่นนั้นท่านก็จะเป็นเช่นเดียวกับคนเหล่านั้นที่ผมว่ามาแล้ว ที่สักวันพวกเขาก็จะตายไปจากแผ่นดินนี้แล้ว ท่านคือผู้ที่จะฟื้นฟูมรดกของบรรพชนให้คงอยู่และมีคุณค่าต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Unity in Diversity

โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง
“หลากหลายชาติพันธุ์รวมกันเป็น ๑” (Unity in Diversity)


หลักการและเหตุผล

องค์การยูเนสโก ได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม (The UNESCO Universal Declaration on Cultural Diversity) เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๔ โดยเสนอให้ทุกประเทศมีการดำเนินการและยอมรับในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศแห่งความสร้างสรรค์และทำให้วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสังคม โดยเน้นให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ จัดทำนโยบายวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในชาติ รวมถึงการกำหนดบทบาทของสมาชิกในชุมชนให้มีส่วนช่วยธำรงค์รักษามรดกทางวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น พร้อมกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในประเทศบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างเสริมวัฒนธรรมของแต่ละชาติให้เข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะก่อให้เกิดการยอมรับในสิทธิมนุษยชน (Human Rights) บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (Unity in Diversity)
จากแนวนโยบายการพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลยั่งยืน ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ที่เน้นความสำคัญของการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ ทั้งที่เป็นทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีมากขึ้นและเชื่อมโยงกันเพื่อประโยชน์ในการพัฒนา โดยการเสริมสร้างทุนทางสังคมเป็นพื้นฐานหลัก ซึ่งต้องเริ่มจากการพัฒนาคุณภาพคนให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชนและระหว่างชุมชน การเสริมสร้างให้ชุมชนมีการรวมตัวอย่างเข้มแข็งมาร่วมคิดร่วมเรียนรู้สู่การปฏิบัติ มีกระบวนการเรียนรู้และการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบที่หลากหลายตามภูมิสังคมที่เหมาะสม สอดรับกับการดำเนินชีวิตบนฐานทรัพยากร ภูมิปัญญา และวิถีวัฒนธรรมชุมชน ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรักความเอื้ออาทร มีความสามัคคี เสียสละ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองและผู้อื่น ส่งผลให้หน่วยงานทุกระดับพยายามกำหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการขึ้นมารองรับ แต่สิ่งที่ดูเหมือนทุกหน่วยงานจะมองข้ามไปคือ การศึกษาศักยภาพและความเปลี่ยนแปลงของชุมชนเพื่อกำหนดแผนที่เป็นรูปธรรม สามารถตอบสนองความต้องการและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม อันจะเป็นการรักษารากฐานของสังคมไทยซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ให้สามารถปรับตัวได้ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันว่ายังมีกลุ่มคนบางส่วนที่ยังไม่ได้รับสิทธิของการเป็นพลเมืองของประเทศไทย ไม่ได้รับการดูแลด้านคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมกับประชากรกลุ่มอื่นของประเทศ หรือบางครั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนในพื้นที่ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติในระยะยาว เช่น ปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาสิทธิความเป็นคนไทยของชนกลุ่มน้อย
การศึกษาเรื่องราวของกลุ่มชนทั้งในเชิงลึกและกว้าง รวมถึงแนวโน้มในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในความเป็นชนเผ่าของกลุ่มชนและบุคคลนอกกลุ่มชน จะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสังคมก้าวเข้าสู่กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง การให้ความสำคัญกับประเด็นวัฒนธรรมพื้นถิ่นพอๆ กับวัฒนธรรมกระแสหลัก ความเข้าใจรูปแบบของความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากแง่มุมทางวัฒนธรรม ก็มีความจำเป็นมากขึ้นตามไปด้วย กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของประเทศในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ และสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความเข้าใจ และการยอมรับความแตกต่างของกลุ่มชนต่างวัฒนธรรม จึงจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “หลากหลายชาติพันธุ์รวมกันเป็น ๑” (Unity in Diversity)


วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาประวัติ ความเป็นมา ภูมิปัญญา และรูปแบบวิถีชีวิต และการสร้างเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
๒. เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพในการพัฒนาสังคมในภาพรวม
๓. เพื่อนำองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายไปสู่คุณค่าทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม
เป้าหมาย
๑. ผู้เข้ารับการสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันเป็นรากฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาสังคมไทยในปัจจุบัน
๒. มีเครือข่ายการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพในการพัฒนาสังคม ในภาพรวมระหว่างหน่วยงานด้านวัฒนธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน กับสถาบันการศึกษา
๓. องค์ความรู้เรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้รับการเผยแพร่และพัฒนาไปสู่คุณค่าทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ผู้เข้ารับการสัมมนาเกิดความรู้ ความเข้าใจในในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
๒. เกิดความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพในการพัฒนาสังคมในภาพรวม
๓. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นศูนย์บริการวิชาการด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ได้รับการยอมรับ

ผู้รับผิดชอบโครงการ
กระทรวงวัฒนธรรมและสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม